ยุทธศาสตร์ของโรงเรียน

ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมและปลูกฝังนักเรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะที่พึงประสงค์ตาม

หลักสูตรสถานศึกษาและอัตลักษณ์ของโรงเรียน

1.1 ส่งเสริมและปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้กับนักเรียน

1.2 ส่งเสริมและปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีงาม และค่านิยมความเป็นไทย

1.3 ส่งเสริมทักษะการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพและตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

1.4 ส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้มีทักษะในการทำงานอย่างเป็นระบบตามระบอบประชาธิปไตย

1.5 ปลูกฝังนักเรียนให้มีนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียน

ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนานักเรียนด้านวิชาการเต็มศักยภาพสู่ความเป็นสากล

2.1 มีแผนและกระบวนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาสอดคล้องกับแผนการจัดการศึกษาของชาติ

2.2 ยกระดับคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของโรงเรียน

2.3 ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยี และการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร

2.4 ส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถด้านวิชาการ ด้านศิลปะ ดนตรีและกีฬา

ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ

3.1 พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ

 ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบการบริหารจัดการโดยยึดหลักธรรมาภิบาล และใช้โรงเรียนเป็นฐาน

4.1 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการของฝ่ายต่าง ๆ

4.2 พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศโรงเรียน

4.3 เพิ่มประสิทธิภาพระบบการประกันคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษา

ยุทธศาสตร์ที่ 5 ปรับปรุงและพัฒนาทรัพยากรเพื่อการเรียนการสอนให้เพียงพอและมีประสิทธิภาพ

5.1 เสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้และมีบรรยากาศ ความเป็นโรงเรียนคาทอลิก

5.2 จัดสรรวัสดุ อุปกรณ์และสื่อเพื่อการเรียนการสอนอย่างเพียงพอและพร้อมใช้

ยุทธศาสตร์ที่ 6 ส่งเสริมโรงเรียนเป็นศูนย์ชุมชนแห่งการเรียนรู้

6.1 ส่งเสริมการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชน

มาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน

มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย

ตัวชี้วัดความสำเร็จ มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย จำนวน 11 มาตรฐาน 51 ตัวบ่งชี้

มาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน มี 4 มาตรฐาน 17 ตัวบ่งชี้

มาตรฐานที่ 1       เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย

ตัวบ่งชี้ที่ 1.1        มีน้ำหนักส่วนสูงเป็นไปตามเกณฑ์

ตัวบ่งชี้ที่ 1.2        มีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัย

ตัวบ่งชี้ที่ 1.3        มีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพตน

ตัวบ่งชี้ที่ 1.4        หลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่อโรค อุบัติเหตุ ภัย และสิ่งเสพติด

มาตรฐานที่ 2       เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ

ตัวบ่งชี้ที่ 2.1        ร่าเริงแจ่มใส มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง

ตัวบ่งชี้ที่ 2.2        มีความมั่นใจและกล้าแสดงออก

ตัวบ่งชี้ที่ 2.3        ควบคุมอารมณ์ตนเองได้เหมาะสมกับวัย

ตัวบ่งชี้ที่ 2.4        ชื่นชมศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหวและรักธรรมชาติ

มาตรฐานที่ 3       เด็กมีพัฒนาการด้านสังคม

ตัวบ่งชี้ที่ 3.1        มีวินัย รับผิดชอบ เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ ครูอาจารย์

ตัวบ่งชี้ที่ 3.2        มีความซื่อสัตย์สุจริต ช่วยเหลือแบ่งปัน

ตัวบ่งชี้ที่ 3.3        เล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

ตัวบ่งชี้ที่ 3.4        ประพฤติตนตามวัฒนธรรมไทยและศาสนาที่ตนนับถือ

มาตรฐานที่ 4       เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา

ตัวบ่งชี้ที่ 4.1        สนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ซักถามอย่างตั้งใจ และรักการเรียนรู้

ตัวบ่งชี้ที่ 4.2        มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดจากประสบการณ์การเรียนรู้

ตัวบ่งชี้ที่ 4.3        มีทักษะทางภาษาที่เหมาะสมกับวัย

ตัวบ่งชี้ที่ 4.4        มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

ตัวบ่งชี้ที่ 4.5        มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

มาตรฐานด้านการจัดการศึกษา มี 4 มาตรฐาน 28 ตัวบ่งชี้

มาตรฐานที่ 5 ครูปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล

ตัวบ่งชี้ที่ 5.1        ครูเข้าใจปรัชญา หลักการ และธรรมชาติของการจัดการศึกษาปฐมวัย และสามารถนำมา ประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์

ตัวบ่งชี้ที่ 5.2        ครูจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย และสามารถจัด ประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลาย สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล

ตัวบ่งชี้ที่ 5.3        ครูบริหารจัดการชั้นเรียนที่สร้างวินัยเชิงบวก

ตัวบ่งชี้ที่ 5.4        ครูใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก

ตัวบ่งชี้ที่ 5.5        ครูใช้เครื่องมือการวัดและประเมินพัฒนาการของเด็กอย่างหลากหลาย และสรุปรายงานผล พัฒนาการของเด็กแก่ผู้ปกครอง

ตัวบ่งชี้ที่ 5.6        ครูวิจัยและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่ตนรับผิดชอบ และใช้ผลในการปรับ การจัด ประสบการณ์

ตัวบ่งชี้ที่ 5.7        ครูจัดสิ่งแวดล้อมให้เกิดการเรียนรู้ได้ตลอดเวลา

ตัวบ่งชี้ที่ 5.8        ครูมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็ก และผู้ปกครอง

ตัวบ่งชี้ที่ 5.9        ครูมีวุฒิและความรู้ความสามารถในด้านการศึกษาปฐมวัย

ตัวบ่งชี้ที่ 5.10      ครูจัดทำสารนิทัศน์และนำมาไตร่ตรองเพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเด็ก

มาตรฐานที่ 6 ผู้บริหารปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล

ตัวบ่งชี้ที่ 6.1        ผู้บริหารเข้าใจปรัชญาและหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย

ตัวบ่งชี้ที่ 6.2        ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ ภาวะผู้นำ และความคิดริเริ่มที่เน้นการพัฒนาเด็กปฐมวัย

ตัวบ่งชี้ที่ 6.3        ผู้บริหารใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมและใช้ข้อมูลการประเมินผลหรือ การวิจัยเป็นฐาน คิด ทั้งด้านวิชาการและการจัดการ

ตัวบ่งชี้ที่ 6.4        ผู้บริหารสามารถบริหารจัดการการศึกษาให้บรรลุเป้าหมายตามแผนพัฒนา คุณภาพการศึกษา

                ตัวบ่งชี้ที่ 6.5        ผู้บริหารส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ

ตัวบ่งชี้ที่ 6.6        ผู้บริหารให้คำแนะนำ คำปรึกษาทางวิชาการและเอาใจใส่การจัดการศึกษาปฐมวัยเต็ม ศักยภาพและเต็มเวลา

                ตัวบ่งชี้ที่ 6.7        เด็ก ผู้ปกครอง และชุมชน พึงพอใจผลการบริหารจัดการศึกษาปฐมวัย

มาตรฐานที่ 7 แนวการจัดการศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 7.1        มีหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษาและนำสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวบ่งชี้ที่ 7.2        มีระบบและกลไกให้ผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายตระหนักและเข้าใจการจัดการศึกษาปฐมวัย

ตัวบ่งชี้ที่ 7.3        จัดกิจกรรมเสริมสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย

ตัวบ่งชี้ที่ 7.4        สร้างการมีส่วนร่วมและแสวงหาความร่วมมือกับผู้ปกครอง ชุมชน และท้องถิ่น

ตัวบ่งชี้ที่ 7.5        จัดสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อพัฒนาเด็กอย่างรอบด้าน

มาตรฐานที่ 8  สถานศึกษามีการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามที่กำหนดใน กฎกระทรวง

ตัวบ่งชี้ที่ 8.1        กำหนดมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 8.2        จัดทำและดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่ง คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 8.3        จัดระบบข้อมูลสารสนเทศ และใช้สารสนเทศในการบริหารจัดการ

ตัวบ่งชี้ที่ 8.4        ติดตามตรวจสอบ และประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 8.5        นำผลการประเมินคุณภาพทั้งภายในและภายนอกไปใช้วางแผนพัฒนา  คุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

ตัวบ่งชี้ที่ 8.6        จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานการประเมินคุณภาพภายใน

มาตรฐานด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ มี 1 มาตรฐาน 2 ตัวบ่งชี้

มาตรฐานชี้ที่ 9 สถานศึกษามีการสร้าง ส่งเสริม สนับสนุน ให้สถานศึกษาเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้

ตัวบ่งชี้ที่ 9.1        เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กและบุคลากรในสถานศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 9.2        มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันภายในสถานศึกษา ระหว่างสถานศึกษากับ ครอบครัว ชุมชน  และองค์กรที่เกี่ยวข้อง

มาตรฐานด้านอัตลักษณ์ของสถานศึกษา มี 1 มาตรฐาน 2 ตัวบ่งชี้

มาตรฐานที่ 10  การพัฒนาของสถานศึกษาให้บรรลุตามเป้าหมาย ปรัชญา วิสัยทัศน์  และจุดเน้นของการศึกษา  ปฐมวัย

ตัวบ่งชี้ที่ 10.1      จัดโครงการ กิจกรรมพัฒนาเด็กให้บรรลุตามเป้าหมาย ปรัชญา วิสัยทัศน์ และจุดเน้นการจัด การศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 10.2      ผลการดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมาย           

มาตรฐานด้านมาตรการส่งเสริม มี 1 มาตรฐาน 2 ตัวบ่งชี้

มาตรฐานที่ 11   การพัฒนาสถานศึกษาตามนโยบายและแนวทางปฏิรูปการศึกษาเพื่อยกระดับ  คุณภาพให้สูงขึ้น

ตัวบ่งชี้ที่ 11.1      จัดโครงการ กิจกรรม ส่งเสริมสนับสนุนตามนโยบายเกี่ยวกับการจัด การศึกษา ปฐมวัย

                ตัวบ่งชี้ที่ 11.2      ผลการดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมาย

มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ตัวชี้วัดความสำเร็จ มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 มาตรฐาน 65 ตัวบ่งชี้

มาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน มี 6 มาตรฐาน 26 ตัวบ่งชี้

­มาตรฐานที่ 1       ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ 

ตัวบ่งชี้ที่ 1.1        มีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพและออกกำลังกาย สม่ำเสมอ

ตัวบ่งชี้ที่ 1.2        มีน้ำหนัก  ส่วนสูง  และสมรรถภาพทางกายและตามเกณฑ์มาตรฐาน

ตัวบ่งชี้ที่ 1.3        ป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติดให้โทษและหลีกเลี่ยงตนเองจากสภาวะที่เสียงต่อความรุนแรง โรค ภัย อุบัติเหตุ และปัญหาทางเพศ

ตัวบ่งชี้ที่ 1.4        เห็นคุณค่าในตนเอง มีความมั่นใจ  กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม

ตัวบ่งชี้ที่ 1.5        มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี  และให้เกียรติผู้อื่น

ตัวบ่งชี้ที่ 1.6        สร้างผลงานจากเข้าร่วมกิจกรรมด้านศิลปะ ดนตรี/นาฎศิลป์ กีฬา/ นันทการ ตาม จินตนาการ

มาตรฐานที่ 2       ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ 

ตัวบ่งชี้ที่ 2.1        มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตร

ตัวบ่งชี้ที่ 2.2        เอื้ออาทรผู้อื่นและกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ

ตัวบ่งชี้ที่ 2.3        ยอมรับความคิดและวัฒนธรรมที่แตกต่าง

ตัวบ่งชี้ที่ 2.4        ตระหนัก รู้คุณค่าร่วมอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม

มาตรฐานที่ 3       ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่าง ต่อเนื่อง มี

ตัวบ่งชี้ที่ 3.1        มีนิสัยรักการอ่านและแสวงหาความรู้ ด้วยตนเอง จากห้องสมุด แหล่งเรียนรู้  และสื่อต่าง ๆ รอบตัว

ตัวบ่งชี้ที่ 3.2        มีทักษะในการอ่าน ฟัง ดู พูด เขียน และตั้งคำถามเพื่อค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม

ตัวบ่งชี้ที่ 3.3        เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อการเรียนรู้ระหว่างกัน

ตัวบ่งชี้ที่ 3.4        ใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้และนำเสนอผลงาน

มาตรฐานที่  4  ผู้เรียนมีความ สามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ คิดสร้างสรรค์ ตัดสินใจ  แก้ปัญหาได้อย่างมีสติสมเหตุผล

ตัวบ่งชี้ที่ 4.1        สรุปความคิดจากเรื่องที่อ่าน ฟัง และดู และสื่อสารโดยการพูดหรือเขียนตามความคิดของตนเอง

ตัวบ่งชี้ที่ 4.2        นำเสนอวิธีคิด วิธีแก้ปัญหาด้วยภาษาหรือวิธีการของตนเอง

ตัวบ่งชี้ที่ 4.3        กำหนดเป้าหมาย คาดการณ์ ตัดสินใจแก้ปัญหาโดยมีเหตุผลประกอบ

ตัวบ่งชี้ที่ 4.4        มีความคิดริเริ่ม แลสร้างสรรค์ผลงานด้วยความภาคภูมิใจ

มาตรฐานที่  5  ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร

                ตัวบ่งชี้ที่ 5.1        ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแต่ละกลุ่มสาระเป็นไปตามเกณฑ์

ตัวบ่งชี้ที่ 5.2        ผลการประเมินสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตรเป็นไปตามเกณฑ์

ตัวบ่งชี้ที่ 5.3        ผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์  และเขียนเป็นไปตามเกณฑ์

ตัวบ่งชี้ที่ 5.4        ผลการทดสอบระดับชาติเป็นไปตามเกณฑ์

มาตรฐานที่  6   ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วม กับผู้อื่นได้ และมีเจตคติ ที่ดีต่ออาชีพสุจริต

ตัวบ่งชี้ที่ 6.1        วางแผนการทำงานและดำเนินการจนสำเร็จ

ตัวบ่งชี้ที่ 6.2        ทำงานอย่างมีความสุข มุ่งมั่นพัฒนางาน และภูมิใจในผลงานของตนเอง

ตัวบ่งชี้ที่ 6.3        ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

ตัวบ่งชี้ที่ 6.4        มีความรู้สึกที่ดีต่ออาชีพสุจริตและหาความรู้เกี่ยวกับอาชีพที่ตนเองสนใจ

                มาตรฐานด้านการจัดการศึกษา มี 6 มาตรฐาน 33 ตัวบ่งชี้

                มาตรฐานที่ 7       ครูปฏิบัติงานตามบทบาท หน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล            

ตัวบ่งชี้ที่ 7.1        ครูมีการกำหนดเป้าหมายคุณภาพผู้เรียนทั้งด้านความรู้ ทักษะกระบวนการสมรรถนะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์

ตัวบ่งชี้ที่ 7.2        ครูมีการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล และใช้ข้อมูลในการวางแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน

ตัวบ่งชี้ที่ 7.3        ครูออกแบบและจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการทางสติปัญญา

ตัวบ่งชี้ที่ 7.4        ครูใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมผนวกกับการนำบริบทและภูมิปัญญาของท้องถิ่นมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้

ตัวบ่งชี้ที่ 7.5        ครูมีการวัดและประเมินผลที่มุ่งเน้นการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ด้วยวิธีการที่หลากหลาย

ตัวบ่งชี้ที่ 7.6        ครูให้คำแนะนำ คำปรึกษา และแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้เรียนทั้งด้านการเรียนและคุณภาพชีวิตด้วยความเสมอภาค

ตัวบ่งชี้ที่ 7.7        ครูมีการศึกษา วิจัยและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในวิชาที่ตนรับผิดชอบ และใช้ผลในการปรับการสอน

ตัวบ่งชี้ที่ 7.8        ครูประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี  และเป็นสมาชิกที่ดีของสถานศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 7.9        ครูจัดการเรียนการสอนตามวิชาที่ได้รับมอบหมายเต็มเวลา เต็มความสามารถ

                มาตรฐานที่ 8       ผู้บริหารปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล 

                ตัวบ่งชี้ที่ 8.1        ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ ภาวะผู้นำ และความคิดริเริ่มที่เน้นการพัฒนาผู้เรียน

ตัวบ่งชี้ที่ 8.2        ผู้บริหารใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมและใช้ข้อมูลผลการประเมินหรือผลการวิจัยเป็นฐานคิดทั้งด้านวิชาการและการจัดการ

ตัวบ่งชี้ที่ 8.3        ผู้บริหารสามารถบริหารจัดการศึกษาให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ใน

แผนปฎิบัติการ

ตัวบ่งชี้ที่ 8.4        ผู้บริหารส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้พร้อมรับการกระจายอำนาจ

ตัวบ่งชี้ที่ 8.5        ผู้เรียน ผู้ปกครอง และชุมชนพึงพอใจผลการบริหารการจัดการศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 8.6        ผู้บริหารให้คำแนะนำ คำปรึกษาทางวิชาการ และเอาใจใส่การจัดการศึกษาเต็มศักยภาพและเต็มเวลา

มาตรฐานที่ 9       คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครอง ชุมชน ปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมี  ประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล

ตัวบ่งชี้ที่ 9.1        คณะกรรมการสถานศึกษารู้และปฎิบัติหน้าที่ตามระเบียบกำหนด

ตัวบ่งชี้ที่ 9.2        คณะกรรมการสถานศึกษากำกับติดตาม ดูแล  และขับเคลื่อนการดำเนินงานของสถานศึกษาให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย

ตัวบ่งชี้ที่ 9.3        ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสถานศึกษา

มาตรฐานที่ 10 สถานศึกษามีการจัดหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ  ผู้เรียนอย่างรอบด้าน

ตัวบ่งชี้ที่ 10.1      หลักสูตรสถานศึกษาเหมาะสม และสอดคล้องกับท้องถิ่น

ตัวบ่งชี้ที่ 10.2      จัดรายวิชาเพิ่มเติมที่หลากหลายให้ผู้เรียนเลือกเรียนตามความถนัด ความสามารถ และความสนใจ

ตัวบ่งชี้ที่ 10.3      จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ส่งเสริมและตอบสนองความต้องการ ความสามารถ  ความถนัด และความสนใจของผู้เรียน

ตัวบ่งชี้ที่ 10.4      สนับสนุนให้ครูจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง

ตัวบ่งชี้ที่ 10.5      นิเทศภายใน กำกับ ติดตามตรวจสอบ และนำผลไปปรับปรุงการเรียนการสอนอย่างสม่ำเสมอ

ตัวบ่งชี้ที่ 10.6      จัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนที่มีประสิทธิภาพและครอบคลุมถึงผู้เรียนทุกคน

มาตรฐานที่ 11 สถานศึกษามีการจัดสภาพแวดล้อมและการบริการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาเต็มศักยภาพ  มี 3 ตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้ที่ 11.1      ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ อาคารเรียนมั่นคง สะอาดและปลอดภัย มีสิ่งอำนวยความสะดวก พอเพียง อยู่ในสภาพใช้การได้ดี สภาพแวดล้อมร่มรื่น และมีแหล่งเรียนรู้สำหรับผู้เรียน

ตัวบ่งชี้ที่ 11.2      จัดโครงการ กิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของผู้เรียน

ตัวบ่งชี้ที่ 11.3      จัดห้องสมุดที่ให้บริหารสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้อให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองและหรือเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

มาตรฐานที่  12  สถานศึกษามีการประกันคุณภาพภายในของสถาน ศึกษาตามที่กำหนดในกฎกระทรวง        

ตัวบ่งชี้ที่ 12.1      กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 12.2      จัดทำและดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 12.3      จัดระบบข้อมูลสารสนเทศและใช้สารสนเทศในการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

                ตัวบ่งชี้ที่ 12.4      ติดตามตรวจสอบ  ประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 12.5      นำผลการประเมินคุณภาพทั้งภายในและภายนอกไปใช้วางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่าง ต่อเนื่อง

ตัวบ่งชี้ที่ 12.6      จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานการประเมินคุณภาพภายใน

                มาตรฐานด้านสังคมแห่งการเรียนรู้ มี 1 มาตรฐาน 2 ตัวบ่งชี้

 มาตรฐานที่ 13 สถานศึกษามีการสร้าง ส่งเสริม สนับสนุน ให้สถานศึกษาเป็นสังคมแห่งการ เรียนรู้   

ตัวบ่งชี้ที่ 13.1      มีการสร้างและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ภายในสถานศึกษาและใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา  เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและบุคลากรของสถานศึกษา รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้อง

ตัวบ่งชี้ที่ 13.2      มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรภายในสถานศึกษา ระหว่างสถานศึกษากับครอบครัว ชุมชน และองค์การที่เกี่ยวข้อง

                มาตรฐานด้านเอกลักษณ์ของสถานศึกษา มี 1 มาตรฐาน 2 ตัวบ่งชี้

 มาตรฐานที่ 14  การพัฒนาสถานศึกษาให้บรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ ปรัชญา และจุดเน้น ที่ กำหนดขึ้น

ตัวบ่งชี้ที่ 14.1      จัดโครงการ  กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมายวิสัยทัศน์ ปรัชญา และจุดเน้นของสถานศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 14.2      ผลการดำเนินงานส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมาย วิสัยทัศน์ ปรัชญาและจุดเน้นของสถานศึกษา

                มาตรฐานด้านการส่งเสริม มี 1 มาตรฐาน 2 ตัวบ่งชี้

 มาตรฐานที่ 15  การพัฒนาสถานศึกษาให้บรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ ปรัชญา และจุดเน้นที่ กำหนดขึ้น

ตัวบ่งชี้ที่ 15.1      จัดโครงการ กิจกรรมพิเศษเพื่อตอบสนองนโยบาย จุดเน้น ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 15.2      ผลการดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมาย