ประวัติโรงเรียนดรุณาราชบุรีวิเทศศึกษา

                         โรงเรียดรุณาราชบุรีวิเทศศึกษามีประวัติความเป็นมาสืบเนื่องจากโรงเรียนดรุณาราชบุรี ประวัติโรงเรียนแบ่งตามสถานภาพ  สถานที่ และชื่อสถานศึกษา ได้แก่ ช่วงแรก ส่วนหนึ่งของโรงเรียนดรุณาราชบุรี ช่วงสอง โรงเรียนดรุณาราชบุรีแผนกสองภาษา และ ช่วงสาม โรงเรียนดรุณาราชบุรีวิเทศศึกษา โดยมีประวัติ ดังนี้

ช่วงแรก ส่วนหนึ่งของโรงเรียนดรุณาราชบุรี

          ช่วงแรกโรงเรียนเป็นแผนกหนึ่งของโรงเรียนดรุณาราชบุรีเริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2539 และจัดการศึกษาในลักษณะนี้จนถึงปีการศึกษา 2545 ดังนี้

 

ปีการศึกษา 2539

          จากนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ส่งเสริมโครงการการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อการสอนเป็นภาษาอังกฤษ  สังฆมณฑลราชบุรีโดยบาทหลวงวีรพันธ์ แก้วมังกร อธิการโรงเรียนดรุณาราชบุรี ดำเนินการ ขออนุญาตให้โรงเรียนดรุณาราชบุรีเข้าร่วมโครงการใช้สื่อการสอนเป็นภาษาอังกฤษ

         โดยใช้อาคาร 6  เป็นสถานที่จัดการศึกษา ตั้งอยู่ภายในรั้วโรงเรียนดรุณาราชบุรี  ที่ตั้งเลขที่ 80 ถนนคฑาธร อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี

 

 2539

ปีการศึกษา 2540

          โรงเรียนดรุณาราชบุรีรับอนุญาตให้เปิดโครงการใช้สื่อการสอนเป็นภาษาอังกฤษ  หรือ “การสอนสองภาษา  (Bilingual Programme)”   ตามใบอนุญาตเลขที่ รบ 62/2540    ลงวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2540    เรื่อง ขออนุญาตโครงการใช้สื่อการสอนเป็นภาษาอังกฤษ  ซึ่งเป็นโรงเรียนสองภาษาแห่งแรกในจังหวัดราชบุรี  เปิดรับนักเรียนเข้าโครงการเริ่มแรกในระดับชั้นอนุบาล 3 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีนักเรียนจำนวน 77 คน ครูชาวไทย 6 คน ครูชาวต่างชาติ 3 คน 

โรงเรียนได้ส่งคุณครูไทยทั้ง 6 คน เข้ารับการอบรมภาษาอังกฤษ ที่ Milner International College of English, Perth, Australia เพื่อเป็นการปรับพื้นฐานความรู้ภาษาอังกฤษให้กับครูไทยเพื่อใช้ในการสื่อสารกับครูต่างชาติ

2540

 

 ปีการศึกษา 2541

บาทหลวง ดร.ไพยง  มนิราช เป็นอธิการโรงเรียน บาทหลวงกันตภณ(อนุชา)  ดำรงศักดิ์  เป็นผู้จัดการและครูใหญ่  โรงเรียนขยายการรับนักเรียนจากชั้นอนุบาล 3 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยโรงเรียนจัดสิ่งอำนวยความสะดวกและสร้างห้องคอมพิวเตอร์สำหรับทุกระดับชั้นได้เรียนอย่างพอเพียง

 

ปีการศึกษา 2542

บาทหลวง ดร.ไพยง  มนิราช  เป็นอธิการโรงเรียน บาทหลวงนพดล  ฉัตรบรรยงค์  รับตำแหน่งผู้จัดการและครูใหญ่ โรงเรียนขยายการรับนักเรียนจากชั้นอนุบาล 3 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  ผู้บริหารและคณะครูเห็นความสำคัญของการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง จึงจัดให้มีโครงการ Educational Trip

 

ปีการศึกษา 2543

บาทหลวงปัญญา   กฤษเจริญ เป็นอธิการโรงเรียน (ต่อมาได้รับการอภิเษกเป็นพระสังฆราช ยอห์น  บอสโก ปัญญา กฤษเจริญ) บาทหลวงเสนอ ดำเนินสะดวก  เป็นผู้จัดการและครูใหญ่  โรงเรียนใช้ระบบการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมเพื่อกระจายอำนาจไปยังหัวหน้าฝ่ายต่าง ๆ และได้เริ่มโครงการทัศนศึกษาภาคฤดูร้อน ที่ต่างประเทศสำหรับนักเรียน และส่งครูไทยไปศึกษาด้านภาษาอังกฤษที่ต่างประเทศด้วย  นอกจากนั้นผู้บริหารได้อนุมัติงบประมาณสำหรับจัดซื้ออุปกรณ์และจัดสร้างห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์สำหรับปีการศึกษา 2544

 

ปีการศึกษา 2544

บาทหลวงดำรัส  ลิมาลัย  เป็นอธิการโรงเรียน  บาทหลวงจำเนียร  จิตเสรีวงศ์  เป็นครูใหญ่  และบาทหลวงมงคล   จันทรสุขสันต์  เป็นผู้จัดการ  ในปีการศึกษานี้โรงเรียนเริ่มจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อให้ทันต่อการใช้ในปีการศึกษา 2545 และโครงการธารน้ำใจ ซึ่งเป็นโครงจริยธรรมที่ต่อเนื่องและเด่นของโรงเรียนเริ่มในปีนี้  ด้วยความคิดริเริ่มของคณะครูและนักเรียนที่ต้องการแบ่งปันสิ่งที่ตนมีให้กับเพื่อนๆ น้องๆ ที่ด้อยโอกาสกว่า ทั้งด้านวิชาความรู้และทุนทรัพย์  ด้วยการไปช่วยโรงเรียนในโครงการ โดยจัดการเรียนการสอน จัดกิจกรรมสร้างสรรค์  เลี้ยงอาหาร และแบ่งปันทุนทรัพย์ สำหรับการดำเนินงานของโรงเรียนต่อไป โรงเรียนได้สร้างห้องธุรการที่บริเวณทางขึ้นชั้นหนึ่ง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ปกครองและผู้ที่มาติดต่อกับทางโรงเรียน  และเนื่องจากการเรียนรู้ส่วนหนึ่งนั้นมาจากประสบการณ์ตรง   โรงเรียนจึงได้สร้างห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย  สวยงามและพร้อมด้วยอุปกรณ์ การทดลองที่เอื้อต่อการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนได้ทดลองปฏิบัติจริง นอกจากนี้ยังได้สร้างห้องสมุดภาษาอังกฤษให้นักเรียนได้ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง      

                                                                                                                                     

ปีการศึกษา 2545

บาทหลวงดำรัส  ลิมาลัย  เป็นอธิการโรงเรียน  บาทหลวงจำเนียร  จิตเสรีวงศ์  เป็นครูใหญ่ บาทหลวงวิโรจน์  เสียงไพเราะ รับตำแหน่งผู้จัดการโรงเรียน  โรงเรียนได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนนำร่องการใช้หลักสูตรสถานศึกษา  โรงเรียนได้เชิญซิสเตอร์คณะคาเมลไลท์มิสชันนารีจากประเทศฟิลิปปินส์มาเป็นผู้ร่วมงาน โดยรับผิดชอบด้านบุคลากรชาวต่างประเทศและงานการเรียนการสอนภาคภาษาอังกฤษ ทำให้การดำเนินงานของโรงเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ช่วงสอง โรงเรียนดรุณาราชบุรีแผนกสองภาษา

เนื่องจากการขยายจำนวนชั้นเรียนและจำนวนนักเรียนของแผนกสองภาษาโรงเรียนดรุณาราชบุรีเพิ่มจำนวนมากขึ้น พร้อมกับจำนวนครูชาวไทย ครูชาวต่างประเทศ บุคลากร และการบริหารจัดการศึกษาตามระบบการศึกษามีภาระงานมากขึ้น เพื่อให้การบริหารคล่องตัว  และเป็นสัดส่วนตามลักษณะประเภทของการจัดการศึกษา จึงได้ขอนุญาตแยกออกจากโรงเรียนดรุณาราชบุรี เป็นอีกหนึ่งโรงเรียนในสังกัดกรรมาธิการฝ่ายอบรมศึกษาสังฆมณฑลราชบุรี โดยบาทหลวงจำเนียร  จิตเสรีวงศ์  ผู้รับใบอนุญาต ผู้จัดการและครูใหญ่โรงเรียนดรุณาราชบุรี  ได้ขออนุญาตทางราชการ   เพื่อย้ายนักเรียนแผนกสองภาษาไปอยู่โรงเรียนดรุณาราชบุรีแผนกประถม  และย้ายนักเรียนที่อยู่โรงเรียนดรุณาราชบุรีแผนกประถมมาอยู่ที่โรงเรียนดรุณาราชบุรี ตามใบอนุญาตเลขที่ รบ 48/2546  ลงวันที่  16 พฤษภาคม 2546 เรื่อง ขอย้ายและรับโอนนักเรียน  เนื่องจากรับโอนโครงการใช้สื่อการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ดังนี้ (1) ย้ายนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  จำนวน 31 คน  ไปเรียนที่โรงเรียนดรุณาราชบุรี (2) รับโอนนักเรียนชั้นอนุบาล 3 – มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 256 คน  มาเรียนที่โรงเรียนดรุณาราชบุรีแผนกประถม

โรงเรียนดรุณาราชบุรีแผนกประถมขอเปลี่ยนชื่อโรงเรียนจากเดิม “โรงเรียนดรุณาราชบุรีแผนกประถม”เป็น “โรงเรียนดรุณาราชบุรีแผนกสองภาษา” และใช้ชื่อภาษาอังกฤษเป็น Darunaratchaburi English Program School  ใช้ชื่อย่อ ด.ร.ส. และชื่อย่อภาษาอังกฤษ D.R.E.P. ตามใบอนุญาตเลขที่ รบ 46/2546        ลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2546  ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับ English School และบ่งบอกความหมายชัดเจน 

ตั้งแต่ปีการศึกษา 2546  เป็นต้นมาโรงเรียนดรุณาราชบุรีแผนกสองภาษา  แยกการบริหารต่างหากจากโรงเรียนดรุณาราชบุรี และยังคงใช้อาคาร โดยใช้อาคาร 6  เป็นสถานที่จัดการศึกษา ตั้งอยู่ภายในรั้วโรงเรียนดรุณาราชบุรี  จนถึงปีการศึกษา 2552 ดังนี้

 

ปีการศึกษา 2546

บาทหลวงมานะ กิจเต่ง เป็นผู้จัดการและครูใหญ่ โรงเรียนดรุณาราชบุรีแผนกสองภาษา ใช้อาคาร 6  ตั้งอยู่ภายในรั้วโรงเรียนดรุณาราชบุรี ที่ตั้งเลขที่ 80 ถนนคฑาธร อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี เป็นสถานที่จัดการศึกษา ในระดับชั้นอนุบาล 3  ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีนักเรียนจำนวน 256 คน ครูชาวไทย 19 คน     ครูชาวต่างชาติ 9 คน 

 

ปีการศึกษา 2547

บาทหลวงดำรัส ลิมาลัย เป็นอธิการโรงเรียน  บาทหลวงมงคล จันทรสุขสันต์  เป็นผู้จัดการและครูใหญ่   การพัฒนาปรับปรุงโรงเรียนได้กระทำอย่างต่อเนื่อง โดยยึดแนวนโยบายของผู้บริหารชุดก่อน  ในปีการศึกษานี้โรงเรียนได้ใช้หลักสูตรของโรงเรียนครบทุกช่วงชั้น มีการนำดนตรีไทยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน โรงเรียนตระหนักถึงความสำคัญของการร่วมจัดการศึกษาระหว่างโรงเรียนและบ้าน จึงได้จัดโครงการภาษา อังกฤษสำหรับผู้ปกครองขึ้น    โดยจัดให้มีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสำหรับผู้ปกครอง  โดยครูต่างชาติเจ้าของภาษา ทุกเย็นวันจันทร์ อังคาร และพุธ  โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และในปีนี้ผู้ปกครองสามารถติดตามความเคลื่อนไหว  ตลอดจนความเป็นไปของโรงเรียนได้จากสารโรงเรียนที่ออกเป็นประจำทุกสิ้นเดือน พร้อมกับ      ใบรายงานพฤติกรรมของนักเรียนแต่ละคนที่รายงานโดยคุณครูประจำชั้นและคุณครูที่ปรึกษาชาวต่างชาติ ด้านอาคารสถานที่   ได้มีการเปลี่ยนคอมพิวเตอร์ในห้องคอมพิวเตอร์ให้ทันสมัยและติดตั้งคอมพิวเตอร์พร้อมอินเตอร์เน็ตทุกห้องเรียน   ได้จัดการขยับขยายห้องสมุดจากชั้น 3   ลงมายังชั้น 1   ทำให้มีเนื้อที่การใช้สอยที่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน   พร้อมทั้งได้ทำการปรับปรุง  ตกแต่งห้อง และจัดหาหนังสือที่หลากหลายและทันกับยุคสมัยมาบริการนักเรียน   จัดทำห้อง Vision  Room  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของห้องสมุดไว้สำหรับให้นักเรียนได้ฝึกทักษะทางด้านการฟังภาษาอังกฤษ  พร้อมกันนี้ยังได้สร้างห้องประชุม  Sacred  Heart  of  Jesus  ซึ่งใช้เป็นที่ประชุมของโรงเรียนและใช้เป็นห้องเรียนภาษาอังกฤษสำหรับผู้ปกครอง ทำการปรับปรุงห้องน้ำภายในอาคารเรียนให้สะอาดสวยงามถูกสุขลักษณะและปีการศึกษานี้โรงเรียนได้รับการประเมินคุณภาพภายนอก โดยหน่วยประเมินประเภทสถาบันอุดมศึกษา  มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี โดยผลการประเมินอยู่ในระดับดีทุกด้าน

 2547

ปีการศึกษา 2548

บาทหลวงดำรัส  ลิมาลัย เป็นอธิการโรงเรียน บาทหลวงมงคล จันทรสุขสันต์ เป็นผู้จัดการและครูใหญ่ โรงเรียนขอขยายชั้นเรียน เปิดรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อสนองตอบความต้องการของผู้ปกครองและชุมชน  โรงเรียนได้จัดตั้งชมรมผู้ปกครอง  นักเรียน และชมรมศิษย์เก่า เพื่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินการของโรงเรียน และในปีเดียวกันนี้เองได้มีการเปลี่ยนแปลงเครื่องแบบทั้งของนักเรียน  ครูและพนักงาน  โดยใช้ผ้าลายสก๊อตสีน้ำเงินเขียวเป็นหลัก  โรงเรียนสนับสนุนและส่งเสริมด้านความสามารถพิเศษของนักเรียน ด้วยการสร้างห้องดนตรีสากลขึ้น 2 ห้อง และจัดให้วิชาดนตรีสากลเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนโดยให้นักเรียนเลือกเรียนดนตรีไทย หรือ Piano หรือ Guitar ได้ตามความสนใจ  สร้างห้อง  Pastoral  Care  สำหรับใช้ในการแนะแนวและให้คำปรึกษาแก่ครู และนักเรียน  สร้างห้องพยาบาลพร้อมเวชภัณฑ์ที่จำเป็นอย่างครบถ้วน และได้ติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า ขนาด 500 KVA  เพื่อรองรับปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่มากขึ้นทุกวัน        จัดติดตั้งระบบอินเทอเน็ตที่เป็นของโรงเรียนเอง  เพื่อให้การใช้งานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  สร้างอนุสาวรีย์พระแม่มารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมล   (St.Mary of the  Immaculate  Conception)    ด้านหน้าอาคารเรียน  และระหว่างบันไดขึ้นชั้นสอง พร้อมกันนี้ได้ถวายโรงเรียนไว้ในความอุปถัมภ์ของพระนางมารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมล  โรงเรียนกำหนดแนวทางในการพัฒนาโรงเรียนด้วยการขอรับการประเมิน   เพื่อรับรางวัลพระราชทานในระดับประถมศึกษา สถานศึกษาขนาดกลาง  และประสบผลสำเร็จในระดับประเทศ  ตามคำประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2549

 

ปีการศึกษา 2549

บาทหลวงมงคล  จันทรสุขสันต์   เป็นอธิการโรงเรียน ผู้จัดการและครูใหญ่  ซิสเตอร์ เซซีเลีย  สุวรรณี  เพชรพนมพร  และ ซิสเตอร์มอนิกา  แม็ดด๊อกซ์  คณะแม่พระถวายองค์ในพระวิหาร   (THE CONGREGATION OF THE PRESENTATION SISTERS) จากประเทศออสเตรเลียมาร่วมงาน โรงเรียนได้เริ่มใช้หลักสูตร         คริสตจริยธรรม ซึ่งเป็นหลักสูตรของโรงเรียนร่วมกับหลักสูตรของโรงเรียนในสังกัดสังฆมณฑลราชบุรี และจัดโครงสร้างการบริหารงานด้านงานอภิบาล (Pastoral Care)  ที่เป็นระบบและเอื้อต่อการติดตามดูแลนักเรียน พร้อมกันนี้ฝ่ายอภิบาลและนักเรียนได้อัญเชิญรูปพระแม่มารีย์องค์อุปถัมถ์ประดิษฐานทุกห้องเรียน    โรงเรียนให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและสนับสนุนบุคลากรทางด้านความรู้และทักษะด้านภาษาอังกฤษเป็นพิเศษ   การจัดให้มีการอบรมสำหรับบุคลากรครูและจัดการเรียนภาษาอังกฤษอย่างต่อเนื่องตลอดปี การดำเนินการสอนของ   Sr. Monica Maddox จำนวนนักเรียนแผนกอนุบาลที่เพิ่มขึ้น จำเป็นต้องหาสถานที่สำหรับออกกำลังกายและ วิ่งเล่นที่เป็นสัดส่วน จึงได้สร้างสนามเด็กเล่นสำหรับอนุบาล ปรับปรุงชั้นล่างของอาคารเรียนพร้อมติดตั้งเครื่องเสียงสำหรับประกอบกิจกรรมต่าง ๆ  นอกจากนี้ยังได้ปรับปรุงเวทีสร้างสรรค์ด้วยการก่อสร้างฉากด้านหลังพร้อมทั้งหลังคาด้านหน้าและด้านข้าง  เพื่อใช้ในการจัดงานต่างๆ ของโรงเรียน   และยังเป็นเวทีให้นักเรียนได้ใช้ เพื่อแสดงออกถึงความรู้ความสามารถ  และทักษะด้านต่างๆ   ทางด้านสื่อการเรียนการสอน    โรงเรียนได้ทำการเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับการเรียนการสอนใหม่ เพื่อให้สามารถรองรับกับเทคโนโลยีใหม่ๆ และจัดซื้อจัดหาสื่อการเรียนการสอนที่หลากหลายและพอเพียงต่อการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน    โรงเรียนมีเป้าหมายของการเป็นผู้นำทางด้านการศึกษา ด้วยการให้การอบรมศึกษานักเรียนให้เป็นผู้มีความเป็นเลิศด้านวิชาการ  สูงส่งด้วยคุณธรรม  ดำเนินชีวิตและบำเพ็ญตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม  เพื่อชีวิตที่พอเพียงและมีความสุข  โรงเรียนได้ขอรับการประเมินเพื่อรับรางวัลพระราชทาน ในระดับมัธยมศึกษา สถานศึกษาขนาดเล็ก และได้รับการคัดเลือกให้เป็นสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทาน    โดยได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทานจากพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี   ณ  ศาลาดุสิดาลัย  สวนจิตรลดา เมื่อวันที่      25 กรกฎาคม  พุทธศักราช 2550    

                                                                                                                          

ปีการศึกษา 2550

 บาทหลวงมงคล  จันทรสุขสันต์   เป็นอธิการโรงเรียน ผู้จัดการและครูใหญ่  ในปีการศึกษานี้นอกจากเน้นทางด้านภาษาอังกฤษอันเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของโรงเรียนแล้วยังเน้นในเรื่องของความเป็นเลิศทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ด้วยการเสริมทักษะและความสามารถให้กับนักเรียนที่สนใจและนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ    พร้อมทั้งส่งเสริมให้มีการแข่งขันทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ และเพื่อให้นโยบายนี้บรรลุเป้าหมายโรงเรียนได้สร้างอาคารเดี่ยว “Augustine W.K. Memorial” และมอบให้เป็นอนุสรณ์แด่ บาทหลวงวีรพันธ์  แก้วมังกร ในโอกาสครบรอบ 10 ของการก่อตั้งโรงเรียน โดยใช้ชื่อห้องว่า  “Student  Development  Center”  เพื่อเป็นศูนย์คณิตศาสตร์และพัฒนาศักยภาพผู้เรียน ทางด้านอาคารสถานที่โรงเรียนได้ทาสีอาคารใหม่เพื่อให้เกิดความสะอาด สวยงาม และสร้างบรรยากาศเพื่อเอื้อต่อการเรียนรู้ นอกจากนี้เพื่อทำให้ปรัชญาโรงเรียน “คุณธรรม นำวิชา พัฒนาสุข” เป็นรูปธรรมมากขึ้น โรงเรียนมีนโยบายและได้ดำเนินการสอดแทรกคุณธรรมลงในทุกรายวิชา  เพื่อให้คุณธรรมจะได้เป็นส่วนหนึ่งอันแยกออกมิได้จากชีวิตจริงของบุคลากรและนักเรียนของโรงเรียนดรุณาราชบุรีแผนกสองภาษา  ในปีการศึกษานี้โรงเรียนได้รับการประเมินโรงเรียนจริยธรรมจากหน่วยงานภายนอก  โดยคณะกรรมการประเมินภายนอกสังฆมณฑลราชบุรี     ผลการประเมินอยู่ในเกณฑ์ดีทุกด้าน

 

ปีการศึกษา 2551

บาทหลวงมงคล  จันทรสุขสันต์   เป็นอธิการโรงเรียน ผู้จัดการและครูใหญ่  โรงเรียนมีนโยบายในการพัฒนาด้านคุณภาพนักเรียนและงานด้านวิชาการ ด้วยการตั้งเป้าหมายเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในทุกกลุ่มสาระให้สูงขึ้น 5% โรงเรียนได้เปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องคอมพิวเตอร์   จำนวน  30 เครื่อง  เพื่อรองรับโปรแกรมและการใช้งานที่มากขึ้น  นอกจากนี้มีการนำเครื่องดนตรีตะวันตกประเภทเครื่องสาย  เช่น Violin, Viola, Cello, Bass, etc. มาให้นักเรียนได้ฝึกหัด เพื่อให้นักเรียนมีสุนทรียภาพและทักษะทางด้านดนตรี พร้อมช่วยสร้างสมาธิในการเรียน   ส่วนทางด้านการบริหารจัดการ โรงเรียนได้ปรับโครงสร้างการบริหารงานใหม่    โดยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มงาน เพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างที่กำหนดโดยคณะกรรมาธิการฝ่ายอบรมศึกษา   สังฆมณฑลราชบุรี และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ    ทางด้านอาคารสถานที่ และสภาพแวดล้อม โรงเรียนได้เปลี่ยนหลังคาบริเวณด้านหน้าสระน้ำใหม่ เพื่อให้นักเรียนใช้สำหรับพักผ่อนและทำกิจกรรมกลางแจ้ง พร้อมทั้งก่อสร้างผนังน้ำล้นและสวนน้ำตก  เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่นักบุญเปาโล เนื่องในโอกาสที่ปี 2551       พระศาสนจักรคาทอลิกทั่วโลกได้ประกาศให้เป็นปีของนักบุญเปาโล  โรงเรียนได้ขอรับการประเมินเพื่อรับรางวัลพระราชทานระดับอนุบาลสถานศึกษาขนาดเล็กและได้รับการคัดเลือกให้เป็นสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทาน

 

2551

ปีการศึกษา 2552

บาทหลวงสุรินทร์ จารย์อุปการะ เป็นอธิการโรงเรียน  บาทหลวงชิตชนนท์ แสงประดับ เป็นผู้จัดการและผู้อำนวยการ  ซิสเตอร์เซซีเลีย สุวรรณี  เพชรพนมพร  เป็นที่ปรึกษาผู้อำนวยการโรงเรียน และผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มงานจิตตาภิบาล  โรงเรียนได้ใช้โครงสร้างการบริหารงานใหม่ โดยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มงาน  (งานวิชาการ งานบุคลากร งานงบประมาณ งานบริหารทั่วไป และงานจิตตาภิบาล) เพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างการบริหารที่กำหนดโดยคณะกรรมาธิการฝ่ายอบรมศึกษาสังฆมณฑลราชบุรีและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโรงเรียนได้จัดห้องผู้อำนวยการและห้องธุรการใหม่ เพื่อความสะดวกในการบริการงานต่างๆ ให้กับครู นักเรียน และผู้ปกครอง

ช่วงสาม โรงเรียนดรุณาราชบุรีวิเทศศึกษา

          สังฆมณฑลราชบุรี โดยพระสังฆราชยอห์น บอสโก ปัญญา กฤษเจริญ กำหนดนโยบายให้โรงเรียนเครือสารสาสน์ช่วยสนับสนุนการจัดการศึกษา โดยให้นายยอห์น บอสโก พิบูลย์ ยงกมล ออกแบบและสร้างอาคารเรียน อาคารประกอบ โดยสังฆมณฑลราชบุรีกู้เงินจากธนาคารกรุงเทพฯ เพื่อการลงทุนสร้างอาคาร จัดสร้างอาคารเรียน 7 ชั้น  โรงพละศึกษา โรงอาหาร ห้องสุขา สระว่ายน้ำ สถานที่ประกอบอาหาร จัดซื้อครุภัณฑ์ อุปกรณ์การเรียน เป็นต้น  โดยใช้ที่ดินของสังฆมณฑลเนื้อที่ 17 ไร่ 1 งาน 95 ตารางวา ตำบลดอนตะโก อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ซึ่งที่ดินผืนนี้จัดซื้อไว้ด้วยความยากลำบากของบาทหลวงเปาโลสุเมธ วัชรศักดิ์ไพศาล  เพื่อเป็นที่ระลึกถึงบุคคลที่มีส่วนในการก่อสร้างโรงเรียน และสานต่อการจัดการศึกษาจากโรงเรียนดรุณาราชบุรีและโรงเรียนดรุณาราชบุรีแผนกสองภาษา จึงจัดตั้งรูปนักบุญเปาโล และนักบุญยอห์น บอสโก โรงเรียนได้ขออนุญาตเปลี่ยนชื่อโรงเรียนจากโรงเรียนดรุณาราชบุรีแผนกสองภาษา เป็น “โรงเรียนดรุณาราชบุรีวิเทศศึกษา” ชื่อเป็นภาษาอังกฤษ “Darunaratchaburi Witaed Suksa School” ชื่อย่อ “ด.ร.ศ.D.R.W.S.”

          เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2553 โอกาสฉลองแม่พระรับสารจากอัครเทวดาคาเบรียล  บาทหลวงสุรินทร์ จารย์อุปการะ  บาทหลวงชิตชนนท์ แสงประดับ และคณะครู บุคลากร ร่วมอัญเชิญรูปพระแม่มารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมล (St.Mary of the Immaculate Conception) องค์อุปถัมภ์โรงเรียนดรุณาราชบุรีแผนกสองภาษา จากอนุสาวรีย์หน้าอาคาร 6 มาประดิษฐานที่โรงเรียนดรุณาราชบุรีวิเทศศึกษา และจัดพิธีวจนพิธีกรรมขอพรจาก พระเจ้าและการฉลองภายในระหว่างผู้บริหาร ครู บุคลากร ถือเป็นการเริ่มต้นอย่างเป็นทางการของการจัดการศึกษา ณ สถานที่ใหม่ของโรงเรียน ตั้งอยู่ เลขที่ 253  หมู่ 10    ตำบล ดอนตะโก  อำเภอเมืองราชบุรี  จังหวัดราชบุรี

2552

ปีการศึกษา 2553

บาทหลวงสุรินทร์ จารย์อุปการะ เป็นอธิการโรงเรียน และมีบาทหลวงชิตชนนท์ แสงประดับ เป็นผู้จัดการและผู้อำนวยการ โรงเรียนย้ายสถานที่ตั้งจากสถานที่ตั้งโรงเรียนภายในรั้วโรงเรียนดรุณาราชบุรี ตำบล ดอนตะโก  อำเภอเมืองราชบุรี  จังหวัดราชบุรี  โรงเรียนสร้างอาคารประกอบการทางดนตรี  เพื่อให้นักเรียนทุกคนฝึกฝนและเรียนรู้จนเกิดทักษะทางดนตรีจนสามารถเล่นเครื่องดนตรีได้อย่างน้อย 1 ชิ้น จัดสร้างสนามเล่นและเครื่องเล่นกลางแจ้งสำหรับนักเรียนอนุบาลและนักเรียนประถมต้น นอกโรงเรียนได้ขยายการจัดชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และเริ่มรับมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยรับการสนับสนุนจากโรงเรียนเครือสารสาสน์ในระยะแรก

 

ปีการศึกษา 2554

บาทหลวงสุรินทร์ จารย์อุปการะ เป็นอธิการโรงเรียน  บาทหลวงชิตชนนท์ แสงประดับ เป็นผู้จัดการและผู้อำนวยการโรงเรียน นางสาวสกุณา น้อยมณีวรรณ์ รับตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการและหัวหน้างานฝ่ายต่างประเทศและวิชาการ

โรงเรียนดูแลการเตรียมนักเรียนเข้าสู่ระดับอุดมศึกษาและพัฒนาการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศเป็นไปตามหลักสูตรอย่างมีประสิทธิภาพ  การจัดทำคู่มือครูต่างชาติ สร้างประเมินผลการเรียนภาษาอังกฤษระดับชั้นอนุบาล   การเขียนหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นภาอังกฤษ  มีการปรับปรุงหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรขั้นพื้นฐานพุทธศักราช2551 ในปีนี้โรงเรียนได้ขยายชั้นปี จนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 5                                                                                                                               

ปีการศึกษา 2555

พระสังฆราชยอห์น บอสโกปัญญา กฤษเจริญ  มอบหมายให้โรงเรียนในเครือสารสาสน์บริหารโรงเรียน โดยนายพิบูลย์ ยงค์กมล เป็นผู้รับใบอนุญาต ดร.สยมพร ทองเนื้อดี เป็นผู้จัดการและนางจันทิมา  รุ่งเรือง เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน ต่อมาโรงเรียนอยู่ภายใต้การดูแลของพระสังฆราชยอห์น บอสโกปัญญา กฤษเจริญ โดยมีการมอบหมายให้ นายสัมฤทธิ์  มายอด เป็นผู้จัดการโรงเรียน   นางสาวพิสมัย วีรศิลป์ รองผู้อำนวยการศูนย์วิชาการโรงเรียนในสังกัดสังฆมณฑลราชบุรี บริหารงานวิชาการ  นายสมหวัง อ่องนาวา เป็นที่ปรึกษาโรงเรียน มีการพัฒนาอาคารสถานที่ ได้แก่ การสร้างหอประชุมยอห์น บอสโก 1 หลัง (ปรับปรุงจากโรงพละเดิม) และสร้างโรงพละ 1 หลัง การสร้างรั้วสูงตาข่ายเหล็กรอบสนามฟุตบอล

          เดือน มกราคม พ.ศ. 2556   พระสังฆราชยอห์น บอสโกปัญญา กฤษเจริญ   แต่งตั้ง บาทหลวง  ดำรัส  ลิมาลัย  เป็นจิตตาธิการโรงเรียน  บาทหลวงสุรินทร์ จารย์อุปการะ เป็นอธิการโรงเรียน  นางสาวสกุณา  น้อยมณีวรรณ์ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน  คณะผู้บริหาร คณะครู นักเรียน และผู้ปกครองร่วมมือสร้างความเชื่อมั่นต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียน แก่ผู้ปกครอง นักเรียน และชุมชน โรงเรียนจัดงาน Family Day โดยได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากผู้ปกครอง นักเรียน และชุมชน แม้จะมีเวลาในการเตรียมงานไม่นาน งานดังกล่าวถือเป็นการสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของทุกคนที่เกี่ยวเนื่องกับโรงเรียน นักเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 รุ่นแรกของโรงเรียนภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของคณะผู้บริหารโรงเรียนจนได้เข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาตามความมุ่งหมาย

 

ปีการศึกษา 2556

บาทหลวงดำรัส ลิมาลัย เป็นจิตตาธิการโรงเรียน บาทหลวงสุรินทร์  จารย์อุปการะ  เป็นอธิการโรงเรียนและผู้จัดการ นางสาวสกุณา  น้อยมณีวรรณ์ เป็นผู้อำนวยการ จำนวนนักเรียนระดับอนุบาลปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 795  คน ครูชาวไทย 81 คน ครูชาวต่างชาติ 17 คน

โรงเรียนจัดทำป้ายชื่อโรงเรียนขนาดใหญ่บนหลังคาโรงเรียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  ติดป้ายและตั้งชื่ออาคารสำคัญ คือ หอประชุมเซนต์ยอห์นบอสโก “St. John Bosco Conference”, อาคารดนตรีเซนต์เซเซลีอา “St. Caecilia Music Building” , อาคารเปาโลสุเมธ “Paul Sumeth Building” มีการตั้งชื่อป้ายต่างๆ เป็นสองภาษา เช่น Swimming  Pool (สระว่ายน้ำ) Canteen   (โรงอาหาร) , ASEAN Learning Center  (ศูนย์การเรียนรู้อาเซียน) การปลูกต้นไม้เพิ่มเติม โดยส่วนหนึ่งได้รับมาจากโรงเรียนดรุณาราชบุรี

โรงเรียนกำหนดเอกลักษณ์ของโรงเรียนเป็น “โรงเรียนแห่งการส่งเสริมศักยภาพทางภาษาอังกฤษ  (English  Promoting  Proficiency  School PEP School)” และโรงเรียนอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก.......  การทำข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ  (MOU)  กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระนครเหนือ  โรงเรียนรับรางวัลเหรียญเงินโรงเรียนที่มีผลคะแนนรวม O-NET  ใน 5 วิชาหลักเกินร้อยละ 50 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6    และรางวัลเหรียญทอแดงโรงเรียนที่มีผลคะแนนรวม O-NET  ใน 5 วิชาหลักเกินร้อยละ 50 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนรับการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานรอบสาม โดยผลการประเมินระดับปฐมวัยอยู่ในระดับดีมาก และระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาอยู่ในระดับดี

School 2556

 

ปีการศึกษา 2557

บาทหลวงดำรัส ลิมาลัย เป็นจิตตาธิการโรงเรียน  บาทหลวง ดร. สุรินทร์ จารย์อุปการะ เป็นอธิการโรงเรียนและผู้จัดการ  และ ดร. สกุณา น้อยมณีวรรณ์ เป็นผู้อำนวยการ ปีการศึกษา  จำนวนนักเรียนระดับอนุบาลปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 800 คน ครูชาวไทย 86 คน ครูชาวต่างชาติ 18 คน

โรงเรียนเปลี่ยนเครื่องหมายตราโรงเรียน เป็นรูปแบบใหม่ แต่สัญลักษณ์ทุกอย่างยังคงเหมือนเดิม การเปลี่ยนเครื่องแบบนักเรียนชุดพละศึกษา เปลี่ยนจากเสื้อสีชมพู เป็นสีขาวปกสีแดงเลือดหมู  โรงเรียนจัดซ่อมแซมหลังคาอาคารเรียนใหม่ทั้งหมดมีจัดจ้างวิศวกรควบคุมดูแลการซ่อมแซม ได้แก่ การเปลี่ยนหลังคาอาคารเรียน จัดทำฝ่าเพดาน และระบบไฟฟ้าโดยใช้งบประมาณของโรงเรียน

 

เครื่องหมายตราโรงเรียน รูปแบบใหม่

Logo school new

 

 

 

school uniform

 

โรงเรียนมีการสร้างส่วนของการทำกิจกรรมสำหรับอนุบาล ชื่อ C-Land  เพื่อให้เด็กทำกิจกรรมเล่นน้ำเล่นทราย  มีการนำตัวต่อลักษณะคล้ายเลโก้ เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีและพลังงานทดแทน ซึ่งได้รับความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระนครเหนือ โดยได้บรรจุเข้าไปในการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์  ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1– มัธยมศึกษาปีที่ 3 การวัดศักยภาพทางภาษาอังกฤษกับหน่วยงานภายนอกนั้น  ได้ร่วมมือกับ  Oxford Press  ทำการสอบวัดระดับตามกรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษที่เป็นสากล  (The Common European Framework of Reference for Language: CEFR) ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 – 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1– 2 และมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 5 ส่วนมัธยมศึกษาปีที่ 3 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 ใช้การสอบ TOEIC  การส่งเสริมความรู้ความสามารถทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์  (TEDED)  ของ สสวท.  โดยนักเรียนที่เข้าร่วมการสอบเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 นอกจากนั้น โรงเรียนได้รับรางวัล โรงเรียนที่มีผลคะแนนรวม O-NET  ใน 5 วิชาหลักเกินร้อยละ 50 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้รางวัลเหรียญเงิน และระดับชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 ได้รางวัลเหรียญทองแดง นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปลายได้รับรางวัลชมเชย (ที่ 5 ระดับประเทศ)การแข่งแข่งขันภาษาอังกฤษเพชรยอดมงกุฎ ครั้งที่ 9   โรงเรียนได้รับรางวัลเหรียญทองการประกวดละครคุณธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษา  และชนะเลิศระดับชาติได้เหรียญทองชนะเลิศอันดับ 1 การแข่งขันเดี่ยวขิม 7 หย่อง ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น นักเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสอบเข้าเรียนระดับอุดมศึกษาได้ครบทุกคน งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 64 ประจำปีการศึกษา 2557

2557

 

ปีการศึกษา 2558

บาทหลวงดำรัส ลิมาลัย เป็นจิตตาธิการโรงเรียน  บาทหลวง ดร. สุรินทร์ จารย์อุปการะ เป็นอธิการโรงเรียนและผู้จัดการ  และ ดร. สกุณา น้อยมณีวรรณ์ เป็นผู้อำนวยการ จำนวนนักเรียนระดับอนุบาลปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 846 คน ครูชาวไทย 87 คน ครูชาวต่างชาติ 19 คน

 และในปีนี้ นักเรียนของเรา คือ ด.ญ.ชโนชา ใหลตระกูล และ ด.ญ.ภูริชยา ภูสิทธิ์สกุล ที่มีผลการสอบ O-NET เเต็ม 100 คะแนน ในวิชาภาษาอังกฤษ และ ด.ช.พชร กิตติพงศธรชัย และ ด.ญ.พิชชาภา  วรรณวีระ ที่มีผลการสอบ O-NET เต็ม 100 คะแนน  ในวิชาคณิตศาสตร์ 

นักเรียนได้รับรางวัล

 ที่สำคัญในปีนี้ โรงเรียนดรุณาราชบุรีวิเทศศึกษาได้ผ่านการรับรองมาตรฐานเป็นครั้งที่ 2 เพื่อเข้ารับตราพระราชทาน “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย” รับรองมาตรฐานปี 2558-2560 ณ อาคารพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ อพวช. คลองห้า ปทุมธานี

บ้านนักวิทยาศาสตร์

 

ปีการศึกษา 2559

บาทหลวงดำรัส ลิมาลัย เป็นจิตตาธิการโรงเรียน  บาทหลวง ดร. สุรินทร์ จารย์อุปการะ เป็นอธิการโรงเรียนและผู้จัดการ  และ ดร. สกุณา น้อยมณีวรรณ์ เป็นผู้อำนวยการ จำนวนนักเรียนระดับอนุบาลปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 860 คน ครูชาวไทย 86 คน ครูชาวต่างชาติ 20 คน

บาทหลวงดำรัส ลิมาลัย เป็นจิตตาธิการโรงเรียน บาทหลวง ดร. สุรินทร์ จารย์อุปการะ เป็นอธิการโรงเรียนและผู้จัดการ ดร.สกุณา น้อยมณีวรรณ์ เป็นผู้อำนวยการ จำนวนนักเรียนระดับอนุบาลปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 863 คน ครูชาวไทย 86 คน ครูชาวต่างชาติ 18 คน โรงเรียนรับรางวัล โรงเรียนที่มีผลคะแนนรวม O-NET ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2559 ได้รางวัลเหรียญเงินและระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้รางวัลเหรียญทองแดง ในปีการศึกษานี้โรงเรียนได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนประชาธิปไตยตัวอย่าง ประจำปีการศึกษา 2559 โครงการส่งเสริมคุณธรรมและวิถีประชาธิปไตยในโรงเรียน สภานิติบัญญัติแห่งชาติร่วมกับมูลนิธิเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติรับรางวัล ครูและนักเรียน ได้รับรางวัลบุคคลต้นแบบคุณธรรม 9 ประการ โครงการตามรอยคุณธรรมรัชกาลที่ 9และเทิดพระเกียติรัชกาลที่ 10 จังหวัดราชบุรี ได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 17 โรงเรียนต้นแบบด้านคุณธรรม จริยธรรมในการถอดบทเรียนโรงเรียนเอกชนต้นแบบคุณธรรม จริยธรรม 

1

2และในปีนี้ นักเรียนของเราได้ O-NET 100 คะแนนเต็ม

วิชาคณิตศาสตร์ (100 คะแนน)

1.เด็กหญิงกรชนก  วัดแย้ม  ป.6/1

2.เด็กหญิงสิริกร     วีระไวทยะ  ป.6/2

3.เด็กชายกิตติพศ   ตันตระกูล   ป.6/3

4.เด็กชายธนยศ     องค์พิสุทธิ์  ป.6/3

 วิชาภาษาอังกฤษ (100 คะแนน)

1.เด็กหญิงกรชนก  วัดแย้ม  ป.6/1

2.เด็กหญิงสิริกร    วีระไวทยะ  ป.6/2

3.เด็กหญิงณัชชา    กิจเกิดแสง  ป.6/2

4.เด็กชายกิตติพศ   ตันตระกูล  ป.6/3

onet59

ปีการศึกษา 2560

มุขนายก ยอห์น บอสโก ปัญญา กฤษเจริญ เป็นผู้รับใบอนุญาต บาทหลวงชิตขนนท์ แสงประดับเป็นผู้จัดการและอธิการ บาทหลวงดำรัส ลิมาลัย เป็นจิตตาธิการ และดร.สกุณา น้อยมณีวรรณ์ เป็นผู้อำนวยการ จำนวนนักเรียนระดับอนุบาลปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 880 คน ครูชาวไทย 87 คน ครูชาวต่างชาติ 22 คน โรงเรียนรับรางวัล โรงเรียนที่มีผลคะแนนรวม O-NET ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2560 ได้รางวัลเหรียญเงิน มีนักเรียนที่ได้คะแนนวิชาคณิตศาสตร์ 100 เต็ม จำนวน 2 คน และวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน 2 คน

ในปีการศึกษานี้โรงเรียนได้รับรางวัลกลุ่มกล้าคุณธรรมโรงเรียนดรุณาราชบุรีวิเทศศึกษา ในฐานะเครือข่ายเยาวชนที่มีจิตอาสาส่งเสริมศีล 5 และค่านิยมหลัก 12 ประการ จากพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประจำปีการศึกษา 2560

34

 

โรงเรียนได้ผ่านการประเมินโรงเรียนควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ระดับดีเด่นของจังหวัดราชบุรี 

ประจำปีการศึกษา 2560

และ รางวัลผลการทดสอบ ONET (ปี 2559) คุณภาพระดับเหรียญทองทั้ง 3 ระดับ ของจังหวัดราชบุรี ประจำปี 2560

5

6

            ในปีนี้ ผู้อำนวยดร.สกุณา น้อยมณีวรรณ์ ได้รับทุนการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาอย่างยั่งยืนเพื่อประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก (CBSEL- China) ณ มณฑลฉงชิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีนระหว่าง 29 ตุลาคม - 27 พฤศจิกายน 2560

 
7

                  ในปีนี้ นักเรียนของเรา นายธีรชัย ระวิวัฒน์ ได้รับการคัดเลือกเป็น เยาวชนคนเก่ง รุ่นที่ 8 ได้รับเข็มเชิดชูเกียรติจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปีการศึกษา 25608

เด็กชายวีรสุ  แก้วสัจจา  ได้รับรางวัลลูกที่มีความกตัญญูต่อแม่เป็นอย่างสูงวันแม่แห่งชาติ ประจำปีการศึกษา 2560 จาก สภาสังคมสงเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

9

ได้ O-NET 100 คะแนนเต็ม

วิชาคณิตศาสตร์ (100 คะแนน)

1.เด็กชายสิรภพ    พุทธานนท์                 ป.6/2

2.เด็กหญิงวิรัญชนา    คามีศักดิ์                ป.6/3    

วิชาภาษาอังกฤษ (100 คะแนน)

1.เด็กหญิงเมธาวี     มีบุญมาก                 ป.6/1   

2.เด็กหญิงณัฐณิชา   ทิมเมือง                  ป.6/1   

3.เด็กหญิงอาชิร์ญาณ์   โสนุช                  ป.6/2  onet60

 

 ปีการศึกษา 2561

ปัจจุบันใช้ชื่อโรงเรียนว่า โรงเรียนดรุณาราชบุรีวิเทศศึกษา” ชื่อเป็นภาษาอังกฤษ“Darunaratchaburi Witaed Suksa School” ใช้ชื่อย่อ .ร.ศ. (D.R.W.S.) เปิดสอนประเภท สามัญศึกษา (การศึกษาระบบสองภาษา: Bilingual Education) ระดับอนุบาล 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 6 ความจุนักเรียนสูงสุดทั้งโรงเรียน 1,105 คน (ตามใบอนุญาตของโรงเรียน) มีมุขนายก ยอห์น บอสโก ปัญญา กฤษเจริญ เป็นผู้รับใบอนุญาต บาทหลวงชิตขนนท์ แสงประดับเป็นผู้จัดการและอธิการ บาทหลวงดำรัส ลิมาลัย เป็นจิตตาธิการ และดร.สกุณา น้อยมณีวรรณ์ เป็นผู้อำนวยการ จำนวนนักเรียนระดับอนุบาลปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 913 คน ครูชาวไทย 85 คน ครูชาวต่างชาติ 15 คน ในปีการศึกษานี้ โรงเรียนได้กำหนดเป้าหมายการสร้างผู้เรียนทั้งระบบ เป็น Empowering the Next Generation to Advance “เสริมพลัง สร้างผู้เรียนสู่โลกอนาคต” โรงเรียนรับรางวัล โรงเรียนที่มีผลคะแนนรวม O-NET  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ปีการศึกษา 2561 ได้รางวัลเหรียญเงินมีนักเรียนที่ได้คะแนนวิชาคณิตศาสตร์ 100 เต็ม จำนวน 4 คน และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้รางวัลเหรียญทองแดง

ในปีการศึกษานี้ โรงเรียนได้รับรางวัลโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญที่มีคุณภาพสู่มาตรฐานสากล ระดับดี ประจำปีการศึกษา พ.ศ. 2561

10

และการศึกษาขั้นปฐมวัยได้ผ่านการประเมินรอบที่สาม “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย” ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปีการศึกษา 2561 - 2565

บ้านนักวิทย์

 

   ในปีนี้ ผู้อำนวย ดร.สกุณา น้อยมณีวรรณ์ ได้รับการคัดเลือกรับรางวัล 100 ปี ครูดีศรีเอกชนประจำปีการศึกษา 2561

11

ครูได้รับรางวัลรางวัลครูโรงเรียนเอกชนดีเด่น Private School Teacher Award 2019

12

       ในปีนี้ นักเรียนของเรา เด็กชายวีรสุ แก้วสัจจา ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 การแข่งขันคณิตศาสตร์ประเทศไทย ครั้งที่ 6 เพื่อค้นหาอัจฉริยภาพทางด้านคณิตศาสตร์ จาก สมาชิกภาพ สหภาพ IMC ประจำประเทศไทย INTERNATIONAL MATHEMATICS CONTEST UNION THAILAND SECRETARIAT 2018และ MASTER VERASU KAEWSATJA Grade 4 as BRONZE MEDALIST, 2018 International Mathematics Wizard Challenge Given this on 5 - 6 May 2018 - Jakarta, Indonesia by IMWIC Union

13

ได้ O-NET วิชาคณิตศาสตร์ (100 คะแนน)

1.เด็กชายณธารธรรม        หมื่นนารายณ์              ป.6/1

2.เด็กชายสิรวิชญ์            ลิมสัมมนาภรณ์             ป.6/1

3.เด็กหญิงพรปวีณ์           เสริมทรัพย์                 ป.6/3

4.เด็กหญิงนันท์ชญาณ์       พชรวิสิฐสกุล               ป.6/3

14

ปีการศึกษา 2562

มุขนายก ยอห์น บอสโก ปัญญา กฤษเจริญ เป็นผู้รับใบอนุญาต บาทหลวงชิตขนนท์ แสงประดับเป็นผู้จัดการและอธิการ บาทหลวงดำรัส ลิมาลัย เป็นจิตตาธิการ และดร.สกุณา น้อยมณีวรรณ์ เป็นผู้อำนวยการ จำนวนนักเรียนระดับอนุบาลปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 916 คน ครูชาวไทย 89 คน ครูชาวต่างชาติ 16 คน ใน     ปีการศึกษา 2561 นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลคะแนนเฉลี่ย O-NET รวมทุกรายวิชา ร้อยละ 62.09 ซึ่งมีนักเรียน ที่ได้คะแนนวิชาคณิตศาสตร์ 100 เต็ม จำนวน 1 คน วิชาภาษาอังกฤษ 100 เต็ม จำนวน 1 คน นอกจากนั้นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีผลคะแนนเฉลี่ยรวม O-NET ทุกรายวิชาสูงกว่าระดับประเทศวิชา ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนได้รับรางวัล “โรงเรียนที่มีผลการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET Test) สูงกว่าระดับชาติทุกลุ่มสาระการเรียนรู้   ปีการศึกษา 2561 ทั้งชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มัธยมศึกษาปีที่ 3 และมัธยมศึกษาปีที่ 6” จากศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี

ในปีนี้ผู้อำนวย ดร.สกุณา น้อยมณีวรรณ์ ได้รับการคัดเลือกรับรางวัลผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนดีเด่น จังหวัดราชบุรี ประจำปีการศึกษา 2562

นอกจากนั้น โรงเรียนดรุณาราชบุรีวิเทศศึกษา ได้รับเชิญจากสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรีให้เข้าร่วมจัดนิทรรศการที่สอดคล้องกับการพัฒนาการเรียนการสอนตามโครงการยกระดับทักษะภาษาอังกฤษเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ Thailand 4.0 โดยในครั้งนี้ ดร.สกุณา น้อยมณีรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนดรุณราชบุรีวิเทศศึกษาได้เป็นตัวแทนของโรงเรียนสังกัดการศึกษาเอกชนจังหวัดราชบุรีเข้าร่วมเสาวนาเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Professional Learning Community : PLC) ด้านแนวคิดการยกระดับทักษะภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศหรือภาษาที่สอง

2

          ปรับปรุงห้องคอมพิวเตอร์ ติดตั้งจอโปรเจคเตอร์ระบบสัมผัส ปรับปรุงห้องวิทยาศาสตร์ และติดตั้งโทรทัศน์ สื่อการเรียนการสอน ติดตั้งเครื่องกรองน้ำระบบ RO ซ่อมแซมระบบท่อระบายน้ำหลังร้านค้าโรงอาหาร ปรับปรุงห้องสุขาภายในอาคารเรียน

1 ผลทดสอบO-NET ปีการศึกษา 2561ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนที่ได้คะแนนวิชาคณิตศาสตร์ 100 เต็ม จำนวน 1 คน วิชาภาษาอังกฤษ 100 เต็ม จำนวน 1 คน

o net 2562

 

 โรงเรียนดรุณาราชบุรีวิเทศศึกษาที่ได้รับโล่เกียรติคุณสถานศึกษาที่มีคุณภาพเชิงประจักษ์ ส่งผลให้นักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลการสอบO-NET ปีการศึกษา 2562 รายวิชา คณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ 100 คะแนนเต็ม จากสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี รับมอบเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2563

3

นายชวินทร์ ว่องไววรพงษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ได้รับคัดเลือกเป็นคณะผู้แทนลูกเสือไทย (ความถนัดทางภาษาอังกฤษ) เข้าร่วมงานชุมนุมลูกเสือภาคพื้นยุโรป ณ สาธารณรัฐโปแลนด์ (European Jamboree 2020) ระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม – 8 สิงหาคม 25634

 

ปีการศึกษา 2563

         มุขนายก ยอห์น บอสโก ปัญญา กฤษเจริญ เป็นผู้รับใบอนุญาต บาทหลวงชิตขนนท์ แสงประดับเป็นผู้จัดการและอธิการ บาทหลวงดำรัส ลิมาลัย เป็นจิตตาธิการ และดร.สกุณา น้อยมณีวรรณ์ เป็นผู้อำนวยการ จำนวนนักเรียนระดับอนุบาลปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 930 คน ครูชาวไทย 89 คน ครูชาวต่างชาติ 19 คน

           ในปีการศึกษา 2562 การสอบ O-NETในปีการศึกษานี้ กระทรวงศึกษาธิการไม่บังคับให้นักเรียนระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 เข้ารับการทดสอบ ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของนักเรียนแต่ละคน ดังนั้น ผลการสอบของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลคะแนนเฉลี่ย O-NET รวมทุกรายวิชา ร้อยละ 62.69 ซึ่งมีนักเรียนที่ได้คะแนนวิชาวิชาภาษาอังกฤษ 100 เต็ม จำนวน 1 คน ผลคะแนนเฉลี่ยรวม O-NET  ทุกรายวิชาของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าระดับประเทศทุกรายวิชา นอกจากนั้น ในปีการศึกษา 2563 สำนักงานรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพสถานศึกษา (องค์การมหาชน) ได้รายงานการประเมินภายนอกการตรวจเยี่ยมภายใต้สถานการณ์ Covid-19 ดังนั้น การรับการประเมินสมศ.รอบ 4 ของโรงเรียนดรุณาราชบุรีวิเทศศึกษาจึงได้รับการประเมิน 2 ระยะ คือ ระยะที่1: ตรวจสอบเอกสารการประเมินคุณภาพภายใน (SAR) ผลการประเมินมี 3 ระดับคือ ปรับปรุง พอใช้ ดี สรุปผลการประเมินของโรงเรียนดรุณาราชบุรีวิเทศศึกษาระยะที่ 1 ได้ระดับ ดี ส่วนระยะที่ 2 เป็นการตรวจเยี่ยมทาง Online ตามคำร้องขอของสถานศึกษา(เพื่อให้ได้ระดับที่สูงขึ้น (ดีมาก ดีเยี่ยม) จะเป็นการเน้นสถิติ รางวัล ความต่อเนื่อง อย่างน้อย 3 ปีการศึกษาความสอดคล้องของทั้ง 3 มาตรฐานและการเป็นแบบอย่างที่สามารถเผยแพร่ให้สถานศึกษาอื่นๆสามารถนำไปใช้ได้เป็นหลักสำคัญในการประเมิน สรุปผลการประเมินเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2564 คือ ระดับปฐมวัย ได้ระดับดีมาก และระดับขั้นพื้นฐาน ได้ระดับดีเยี่ยม    

          ช่วงปีนี้โรงเรียนมีการปรับภูมิทัศน์สนามฟุตบอล ลานดินที่จอดรถ สร้างป้ายชื่อโรงเรียนด้านประตู 1 พร้อมติดตั้งตัวอักษรและไฟส่องสว่าง ติดตั้งเสาไฟระบบโซล่าเซลล์ถนนรอสนามฟุตบอล และเปลี่ยนกระจกบานเกร็ดเป็นหน้าต่างบานกระจกแผ่นตั้งแต่ชั้นที่ 1 ถึง 3

5

ในปีการศึกษา 2562 ผลทดสอบ O-NET ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนที่ได้คะแนนวิชาภาษาอังกฤษ 100 เต็ม จำนวน 1 คน

6

สำนักงานรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพสถานศึกษา (องค์การมหาชน) ได้รายงานการประเมินภายนอกการตรวจเยี่ยมภายใต้สถานการณ์ Covid-19.รอบ 4 ของโรงเรียนดรุณาราชบุรีวิเทศศึกษาเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2564 คือ ระดับปฐมวัย ได้ระดับดีมาก และระดับขั้นพื้นฐาน ได้ระดับดีเยี่ยม  

7

8